วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่16

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560 

     วันนี้อาจารย์ได้ให้พวกเราไปจัดนิทรรศการแสดงสื่อทั้งหมดตลอดเทอมที่พวกเราได้จัดทำกันขึ้นมา ที่โรงเรียนสาธิตราชภัฏจันทรเกษม









 





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15

วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30 น.

     วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนนำสื่อ2ชิ้นที่อาจารย์สั่งออกมานำเสนอให้เพื่อนๆทุกคนรู้จักสื่อของเราและวิธีการใช้สื่อ

☂ชิ้นแรกจับคู่ไข่ ประดิษฐ์สื่อชิ้นนี้จากแผงไข่เหลือใช้นำมาตัดออกให้เป็นชิ้นๆและทาสีแผงไข่ที่ตัดออกมาแล้ว หลังจากนั้นนำข้าว ถั่วเขียว ถั่วดำและกระดิ่งใส่เข้าไปในแผงไข่อย่างละ2อัน เพื่อที่จะได้ให้เด็กเล่นและจับคู่ให้ถูกต้อง เป็นการส่งเสริมการฟังของเด็กได้เป็นอย่างดี

☂ชิ้นที่สองกลกระดาษ ประดิษฐ์จากกระดาษเอสี่และรูปอะไรก็ได้ที่ปริ้นท์มา เริ่มจากการนำเอสี่มาแบ่งครึ่งหลังจากนั้นก็พับด้านบนกับด้านล่างของครึ่งเอสี่ให้เท่าๆกัน เมื่อพับเสร็จแล้วจะมีพื้นที่ตรงกลางให้เราตัดกระดาษเป็นรูปตัวเอ็กซ์ตรงพื้นที่ตรงกลางของครึ่งเอสี่ หลังจากนั้นให้พับด้านข้างของกระดาษเข้ามาแล้วจึงแปะรูปลงไปให้กึ่งกลางของกระดาษ สื่อชิ้นนี้เหมาะกับการนำไปสอนเด็กตามหน่วยการเรียนรู้ต่างๆได้



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14

วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ.2560

        วันนี้ไปเรียนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม วันนี้อาจารย์ได้สั่งงานก่อนที่อาจารย์จะสั่งงานได้มีการเปิดรรูปตัวอย่างของสื่อแต่ละชนิดให้ดูเช่น ตารางกิจวัตรประจำวัน สภาพอากาศ  บอร์ดประถมนิเทศ
โดยอาจารย์มีการแบ่งงานดังนี้ 

                  ♪ ชาร์ตเพลงทำเป็นคู่คู่ละ1เพลง
                  ♪ กลุ่มหนึ่ง ทำกิจวัตรประจำวัน และสภาพอากาศ    (8คน)
                  ♪ กลุ่มสอง ทำบอร์ดสมาชิก และบอร์ดวันเกิด   (7คน)
                  ♪ กลุ่มสาม ทำป้ายนิเทศ และธนาคารคำ  (8คน )
            เพื่อนๆแต่ละกลุ่มมีการแบ่งกลุ่มกันอย่างชัดเจนและแบ่งหน้าที่กันในกลุ่มว่าแต่ละคนต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง และร่วมกันวางแผนในการทำงานชิ้นนี้






(ไม่ได้เข้าเรียน อ้างอิงจาก บล็อกของนางสาวศุภพิชญ์ กาบบาลี)
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13 

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560 

     วันนี้เป็นวันที่อาจารย์ให้นำสื่อที่อาจารย์ได้สั่งให้ทำเมื่อวันที่ 21 เมษายน มาส่งคนละ2ชิ้น โดยสื่อที่เลือกทำคือ จับคู่ไข่และกลกระดาษ



♦ ชิ้นแรกเป็นจับคู่ไข่ จับคู่ที่ว่าก็คือให้จับคู่เสียงของไข่ ภายในไข่ประกอบด้วย ข้าวสาร ถั่วเขียว ถั่วดำและกระดิ่ง สื่อชิ้นนี้เป็นสื่อที่สามารถช่วยฝึกการฟังของเด็กได้เป็นอย่างดี

♦ ชิ้นที่สองกลกระดาษ เป็นสื่อที่เหมาะกับการนำไปประกอบการสอนตามหน่วยต่างๆเป็นอย่างมาก เพราะกระดาษนั้นสามารถพลิกให้มันเปลี่ยนเป็นรูปต่างๆได้หลากหลายรูป
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา14.30-17.30 น.

     วันนี้อาจารย์นำเกมการศึกษาของพี่ปีก่อนๆมาให้พวกเราดูและอธิบายถึงเกมการศึกษาว่ามีกี่ประเภท อย่างเช่น เกมจับคู่ เกมลอตโต เกมภาพตัดต่อ เกมจัดหมวดหมู่ ซึ่งแต่ละเกมนั้นสามารถแบ่งย่อยได้อีก เช่น

         ☞เกมจับคู่
เกมจับคู่ภาพเงา
เกมจับคู่ภาพที่เป็นประเภทเดียวกัน
เกมจับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน สิ่งที่ใช้คู่กัน
        เกมจัดหมวดหมู่
ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ
เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด

     หลังจากที่อาจารย์ได้อธิบายถึงเกมการศึกษาเสร็จเรียบร้อยก็ได้สั่งงานกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มกลุ่มละ5-6คน โดยอาจารย์ให้ทำเกมจับคู่ เกมลอตโต เกมจัดหมวดหมู่และเกมภาพตัดต่อ










วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11

วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30 น.

     สัปดาห์นี้อาจารย์บาสได้สั่งการบ้านพวกเราคนละ2ชิ้น โดยให้ไปศึกษาขั้นตอนการทำสื่อเองจากเพจ 拼學趣  โดยสื่อของพวกเราแต่ละคนจะต้องไม่ซ้ำกันแม้แต่ชิ้นเดียว


หลังจากที่อาจารย์บาสสั่งงานเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ได้ให้เวลาพวกเราเคลียร์งานสื่อที่ยังไม่เรียบร้อยหรือมีเพื่อนบางคนที่ยังทำไม่เสร็จ อาจารย์ก็ได้ให้เวลาเคลียร์งานจนเสร็จเรียบร้อย
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30 น. 

     ในสัปดาห์นี้อาจารย์บาสได้สอนพวกเราทำสื่อ2ชิ้น โดยชิ้นแรกเป็นดอกไม้ที่เขย่าแล้วมีเสียง เหมาะในการใช้กับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งเป็นสื่อที่ค่อนข้างทำขึ้นมาเองได้ง่ายใช้อุปกรณ์ไม่เยอะจนเกินไป


อุปกรณ์
1.กรวยกระดาษ
2.ลูกปัดหรือเมล็ดข้าว
3.ตะเกียบ
4.เทปเขียว
5.ปืนกาว
6.กรรไกร
7.กระดาษสี
8.กาว




ขั้นตอนการทำ
1.ตัดก้นแก้วกระดาษออกแล้วนำตะเกียบเสียบไว้ โดยที่ไม่ให้มันหลวมเกินไป


2.นำปืนกาวมาทาเพื่อทำให้ตะเกียบกับแก้วกระดาษยึดติดกัน เมื่อกาวแห้งให้นำข้าวสารหรือลูกปัดใส่ลงไปในแก้ว แล้วนำกระดาษมาปิดปากแก้วเอาไว้


3.นำเทปสีเขียวมาพันรอบตะเกียบในส่วนที่เหลือไว้


4.นำกระดาษสีมาตัดเป็นกลีบดอกตามที่เราต้องการและติดลงบนแก้วกระดาษให้สวยงาม


งานชิ้นที่ 2 เป็นการทำโมบายประดับตกแต่งห้องจากกระดาษแข็ง โดยทำเป็นรูปดาว 5 แฉก

อุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง 
2.กรรไกร
3.กาว
4.ตะเกียบ

ขั้นตอนการทำ
1.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส


2.พับกระดาษให้เป็นรูปสามเหลี่ยมสองครั้ง


3.หันกระดาษด้านที่ปากเปิดออกนอกตัวและเริ่มตัดกระดาษแนวตรงตามแนวกระดาษจนเกือบถึงมุมที่มีขนาดเล็กสุด


4.กางกระดาษที่ตัดแล้วออก


5.ติดกาวโดยเริ่มจาดคู่ที่มีขนาดเล็กสุดจนถึงขนาดใหญ่สุด โดยการติดนั้นจะต้องติดสลับหน้าหลังกัน ถ้าคู่ที่เราเริ่มติดอันแรติดด้านในคู่ต่อไปต้องสลับด้านกัน ซึ่งก็คือด้านหลังนั่นเอง


6.ติดสลับจนครบทุกคู่ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


7.ดาว5แฉก


วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 10.00-13.30 น. (เรียนชดเชย)

ในคาบนี้อาจารย์บาสได้ให้ทำสื่อเกี่ยวกับวัฏจักรของปลาซึ่งมีส่วนที่สามารถหมุนได้ทำให้เห็นวัฏจักรของปลาตั้งแต่เป็นไข่จนกระทั่งเป็นตัว


ซึ่งสื่อชิ้นนี้จะทำให้เด็กได้เห็นวัฏจักรการเกิดของปลาว่าเริ่มต้นมาจากอะไร และครูสามารถทำวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้อีก เช่น วัฏจักรของปลา วัฏจักรของกบ วัฏจักรของผีเสื้อ เป็นต้น 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30 น.

     ในวันนี้อาจารย์ได้สอนทำสื่อเพิ่มอีก2อย่าง คือสื่อที่สามารถดึงแล้วโยกซ้ายขวาได้และสื่อที่ใช้เอ็นดึงเพื่อทำให้รายละเอียดในสื่อเคลื่อนไหวได้































     สื่อทั้งสองชิ้นนี้อาจารย์ให้ทำเป็นกลุ่ม โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกันเอง กลุ่มละ5-6คน ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำสื่อชิ้นแรกที่เป็นสื่อดึงแล้วจะโยกไปทางซ้ายและทางขวาได้ทำออกมาเป็นนิทานเรื่องเอ้าฮุยเลฮุย
นิทานเรื่อง เอ้าฮุยเลฮุย
สื่อชิ้นที่สองกลุ่มของเราได้ทำออกมาเป็นชินจังแปรงฟัน โดยใช้เส้นเอ็นเป็นตัวดึงให้แปรงสีฟันขยับไปมา
ชินจังแปรงฟัน
     ในการทำสื่อวันนี้ทำให้เราได้ทราบเทคนิคในการทำสื่อเพิ่มมากขึ้น ได้รู้อุปกรณ์ ขั้นตอนอย่างละเอียด ถึงแม้งานชิ้นแรกอาจจะยังไม่สวยมากนักแต่เมื่อได้ทำหลายๆครั้งก็จะทำให้สื่อนั้นสวยงามมากขึ้นต่อไป