วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30น.



     สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 
      ในกระบวนการสื่อสารนั้นผู้ส่ง(ครู)จะส่งสาร(สื่อ)ไปยังผู้รับ(เด็ก) โดยผู้รับจะรับสารโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสารก็มักจะนึกถึงภาษาพูดหรือเขียน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัวสารหรือเนื้อความ แต่อาจพิจารณาว่าสื่อในทีนี้เป็นสื่อที่ทำให้ผู้รับสารทราบเนื้อหาของสารที่ผู้ส่งสารต้องการส่งก็ได้ ดังนั้นเมื่อมีการกล่าวถึงลักษณะของการสื่อสาร เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียนหรืออากัปกิริยาต่างๆ

ความหมายและความสำคัญของสื่อ
        ➵ ความหมายของสื่อ
            สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด
        ➵ ความสำคัญของสื่อ 
           - เป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก
           - เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้และเป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก
           - เป็นเครื่องมือที่ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรมและจะทำให้เด็กจดจำได้นาน
           - สื่อเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด ช่วยให้เรียนได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลินและจำได้แม่นยำ

ประเภทของสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
           แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น 2 ลักษณะ
              1. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน
              2. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน

              ชัยยงค์ พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
              1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สื่อที่มีการสิ้งเปลืองคือใช้แล้วหมดไป เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย เป็นต้น
              2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ หมายถึง เป็นเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องเสียง เช่น เครื่องรีบวิทยุและเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง กับอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ทั้งเครื่องเสียงและเครื่องฉาย เช่น กระดานดำ ม้าหมุนและกระดานหก
              3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ ได้แก่ การจัดระบบ การสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การจัดสถานการณ์จำลอง เป็นต้น
              แม้ว่าสื่อทั้ง3จะเป็นสื่อการสอนที่ช่วยให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ แต่การใช้สื่อเหล่านี้กับเด็กให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้อง เลือกให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเหมาะกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กปฐมวัย เช่น
              ▪ ลักษณะทางกาย เด็กปฐมวัยมีร่างกายที่แข็งแรงกว่าเด็กทารกแต่ไม่เท่าประถมหรือมัธยม ควรเลือกสื่อที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น แต่ไม่ควรออกแรงมากเกินไป
        ▪ ลักษณะทางอารมณ์ เด็กปฐมวัยมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ไม่รู้จักการสะกดกลั้นอารมณ์ ควรหาสื่อที่เป็นรูปภาพหรือนิทานสอนใจให้เด็กเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการสะกดกลั้นอารมณ์
        ▪ ลักษณะทางสังคม เด็กในวัยนี้อยู่ในสังคมวงแคบ เด็กเริ่มรู้จักปรับตัวให้เข้ากับคนแปลกหน้า ควรเป็นสื่อที่ส่งเสริมให้เด็กอยู่ร่วมกัน รู้จักการร่วมมือกัน เช่น สื่อประเภทกระดานหกที่ต้องใช้ผู้เล่นอย่างน้อย 2 คนถึงจะเล่นได้
        ลักษณะทางสติปัญญา เด็กวัยนี้อยู่ในช่วงการสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุผลในเชิงรูปธรรมมากกว่านามธรรม ควรใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้จักใช้จินตนาการในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม

ความหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย
           แรกเกิด-หนึ่งขวบ เด็กวัยนี้จะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเป็นลำดับ เริ่มจากการจ้องมองและไขว่คว้าสิ่งของ ฝึกคืบคลาน จนกระทั่งตั้งไข่และพยายามหัดเดินด้วยตนเอง
           วัยหนึ่งขวบ-สองขวบ เด็กวัยนี้เคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ชอบปีนป่ายไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย อยากรู้อยากเห็น ซุกซน ผู้ใหญ่ต้องคอยช่วยเหลือใกล้ชิดและคอยเรื่องอุบัติเหตุต่าง
           วัยสองขวบ-สามขวบ เริ่มสนใจการเล่นกับเด็กคนอื่นๆแต่จะเป็นการเล่นแบบขนาน คือการเล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่จะไม่มีการพูดคุยกัน เด็กวัยนี้เป็นวัยที่รู้จักโลกกว้างขวางขึ้น เป็นวัยของความเป็นตัวเอง
           วัยสามขวบ-สี่ขวบ เด็กวัยนี้เริ่มมองโลกกว้างมากขึ้น เห็นความสามรถของตนเองว่าเหมือนผู้ใหญ่จะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
           วัยสี่ขวบ-ห้าขวบ เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง ภาคภูมิใจในตัวเอง เข้าใจภาษามากขึ้นพูดเป็นประโยคยาวๆเด็กสามารถช่วยตนเองได้ทุกอย่าง
           วัยห้าขวบ-หกขวบ เด็กวัยนี้ชอบเล่นของเล่นที่ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งต่างๆ ชอบเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ ชอบเล่นให้กำลัง

การเล่นของเด็กปฐมวัย
        1. ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น การเล่นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะด้านร่างกายและสังคม เข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต การจัดการศึกษาปฐมวัยที่เอื้อให้เด็กเล่น จึงเป็นการที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านอย่างแท้จริง
           2. คุณลักษณะของเสียงสร้างสรรค์และการเล่น ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร เน้นให้เด็กได้ใช้สื่อและเล่นร่วมกันเพื่อพัฒนาทักษะด้านสังคม และต้องเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของเด็ก
            3. ประเภทของสื่อสร้างสรรค์และเครื่องเล่น 
                • บล็อก ส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ดีที่สุด โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์
                • เครื่องเล่นสัมผัส
                • เกมการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญการศึกษาปฐมวัย
                • หนังสือภาพนิทาน
                • ศิลปะสร้างสรรค์
                • เพลงและดนตรี
                • เล่นบทบาทสมมติ
           4. ประโยชน์ของการเล่น ช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น ด้านร่างกาย ช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง เพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ ด้านอารมณ์ช่วยให้เด็กมีอารมณ์แจ่มใส สนุกสนาน ด้านสังคม จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออกและสามารถเล่นร่วมกับเพื่อนได้
           5. วิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็กปฐมวัยได้ ดังนี้
                 - จัดหาสถานที่และอุปกรณ์การเล่นที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก
                 - ให้เด็กเล่นอย่างอิสระตามความคิดและจินตนาการ
                 - กระตุ้น ชี้แจง หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆให้กับเด็ก
                 - กล่าวคำชม
                 - ผู้ใหญ่ควรช่างสังเกตและจดจำเกี่ยวกับการเล่นของเด็กว่าเด็กสนใจในสิ่งใดเป็นพิเศษและควรส่งเสริมความสนใจนั้นๆ

ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
            1. ความริเริ่ม คือ ความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดเดิม ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดริเริ่ม คือ ไม่ชอบความจำเจ ซ้ำซาก และชอบปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แปลกใหม่ยิ่งขึ้น
            2. ความคิดคล่องตัว ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกันโดยแบ่งออกเป็น 
                  1) ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ
                  2) ความคิดคล่องแคล่วทางด้านโยงสัมพันธ์
                  3)ฺ ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก
                  4) ความคิดคล่องแคล่วในการคิด 
            3. ความคิดยืดหยุ่นหรือความยืดหยุ่นในการคิด
                  1) ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที
                  2) ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง
            4. ความคิดละเอียดละออ พัฒนาการความละเอียดละออขึ้นอยู่กับอายุ เด็กผู้หญิงจะละเอียดละออมากกว่าเด็กผู้ชาย เด็กที่มีความสามารถทางด้านความละเอียดละออสูงก็จะมีความสามารถทางด้านการสังเกตสูงด้วย
            5. คุณครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
                   1) ลักษณะโดยทั่วไป
                   2) หลักสูตรและวิธีการสอน
                   3)ฺ วิธีการสอนของครูแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัย

ประโยชน์ของสื่อสร้างสรรค์
              หลักการเลือกสื่อสร้างสรรค์
                   1) ประโยชน์
                   2) ประหยัด
                   3)ฺ ประสิทธิภาพ
          ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์
          ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์ที่ส่งผลผู้สอน

การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
       เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากรูปธรรมไปหานามธรรม โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ครูผู้สอนต้องมีใจรักเด็กอย่างจริงใจ อย่าเสแสร้ง ควรจัดกิจกรรมที่เน้นเด็กเป็นสำคัญเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข กล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออก
              1. การเรียนรู้เด็กปฐมวัยด้วยองค์ความรู้ด้านสมอง และทฤษฎีพหุปัญญา
                    1) ปัญญาด้านภาษา
                    2) ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
                    3) ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
                    4) ปัญญาด้านดนตรี
                    5) ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
                    6) ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
                    7) ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์
                    8) ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับธรรมชาติ
              2. ทฤษฎีทางพหุปัญญา
                    1) ปัญญามีลักษณะเฉพาะด้านจากการศึกษาเรื่องสมอง
                    2) ทุกคนมีปัญญาทั้ง8ด้าน
                    3) ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญา
                    4) ปัญญาด้านต่างๆสามารถทำงานร่วมกัน
                    5) ปัญญาแต่ละด้านจะมีการแสดงความสามารถหลายทาง
              3. ความสุข สิ่งที่ทุกคนปรารถนาเป้าเสาะแสวงหา ไขว่คว้า พากเพียรพยายามที่จะให้ตัวเองและผู้เป็นที่รักได้พบได้ครอบครอง พ่อแม่อยากให้ลูกมีความสุข ครูอาจารย์ก็อยากเห็นลูกศิษย์ของตนร่าเริง แจ่มใสและมีความสุข
              4. การประยุกต์กระบวนทันศ์ใหม่ทางการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย การพัฒนาให้เด็กเป็นคนเก่ง ดีและมีความสุข โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ตามสภาพจริงและกระบวนการประเมินตามสภาพจริง
              5. การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดใน
                    1) การเลือกและตัดสินใจ โดยที่เด็กเป็นคนเลือกเอง
                    2) สื่อ
                    3) การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
                    4) ภาษาจากเด็ก สีหน้า ท่าทาง คำพูด
                    5) การสนับสนุนจากผู้ใหญ่

สรุป 

♬การใช้สื่อสร้างสรรค์หมายถึงสื่อการสอนที่ดีที่สามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี
♬การสอนสำหรับเด็กต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจของเด็กปฐมวัยอีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30น.




     วันนี้ได้เรียนในเรื่องของธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เด็กในช่วงวัยนี้จะเป็นช่วงที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งก็คือ พ่อแม่จะให้ความสนใจและให้สำคัญเป็นอย่างมากเพราะถือว่าช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่สำคัญต่อการเรียนรู้
ลักษณะของเด็กในช่วงวัยนี้ 
1.ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
2.มีความสามารถในขอบเขตจำกัดและแตกต่างกั
3.ต้องการการเอาใจใส่ดูแลจากบุคคลรอบข้างเขา
4.ชอบความเป็นอิสระ
5.ชอบแสดงออกและต้องการการยอมรับจากครูและเพื่อนๆ
6.ชอบเล่น
7.มีช่วงของความสนใจสั้นๆ เด็ก3-4ขวบจะมีระยะความสนใจเพียง 10-12นาทีและเด็กอายุ4-5ขวบ
จะมีระยะความสนใจเพียง 12-15นาที
ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
 1.เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการพบหรือสัมผัสสิ่งของและลงมือกระทำด้วยตัวเอง                                                                                                                          2.เรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม เรียนรู้จากการบอกเล่าของบุคคลที่ใกล้ชิด หรือเรียนรู้จากหนังสือ การเลียนแบบบุคคล ซึ่งการเรียนรู้วิธีนี้จะทำให้เด็กสร้างมโนภาพขึ้นได้ในสมองแทนการเห็นของจริง
การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
   - ลักษณะที่1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ คือการที่เด็กเห็นสิ่งนี้แล้วรู้ว่าต้องทำอะไร                           - ลักษณะที่2 เป็นการเรียนรู้จากการช่วยเหลือจากพ่อแม่ เช่น การสอนเด็กเลี้ยงสัตว์เลี้ยง                       - ลักษณะที่3 การเรียนรู้จากโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมอย่างมีระบบ                                            รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย                                                 1.การเรียนรู้โดยใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา มองเห็นความต่างความเหมือนของสี ขนาด รูปร่าง เป็นการเรียนรู้ที่ประสานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับสายตา                        2.การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง เด็กจะได้ยินเสียงต่างๆจากสิ่งรอบตัวหรือจากบุคคลและเด็กสามารถรู้ที่มาของเสียง แยกความเหมือนความต่างของเสียงได้
3.การเรียนรู้โดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย เด็กเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายหรือกล้ามเนื้อ เช่น การเดิน การวิ่ง การคลาน เป็นต้น    
                                                                        
กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและเด็กในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี ถือเป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่งกระตุ้น ตัวกระตุ้นที่ดีที่สุดของเด็กคือ คำถาม การที่เด็กตั้งคำถามคือเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้มีขั้นตอน ดังนี้                                                                                               
1.มีสิ่งเร้ามาเร้าผู้เรียน สิ่งเร้าในที่นี้คือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนซึ่งควรจะเป็นของจริง                   2.ผู้เรียนรับรู้สิ่งเร้า คือการที่ครูมีเทคนิคในการสอนที่จะดึงดูดให้เด็กมาสนใจและเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด                                                                                                                                  
3.ผู้เรียนแปลความหมายของสิ่งเร้าที่รับรู้ คือการที่เด็กเกิดการเรียนรู้จากสื่อและสามารถเข้าใจว่าสื่อนี้ต้องการให้เรียนรู้เรื่องอะไร                                                                                                       
4.ผู้เรียนมีปฏฺิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้และแปลความหมาย                                                 5.ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น คือการที่เด็กเข้าใจในสื่อนั้นมากน้อยเพียงใด
เมื่อเด็กอายุมากขึ้นพัฒนาการในการเรียนรู้ก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย เด็กที่มีอายุระหว่าง3-6ปีจะมีวิธีการเรียนรู้ที่ซับซ้อนกว่าเด็กที่อายุ2-3ปี โดยเด็กจะใช้การคิดการลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาสิ่งที่ตนเองอยากรู้

ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐวัย
อายุ2-3ปี 
- ดูหนังสือภาพแล้วสามารถเรียกชื่อสิ่งที่เห็นจากภาพได้
- จับคุ่สิ่งของได้ โดยที่เด็กรู้ความสัมพันธ์กันของสิ่งของเล่านั้น เช่น เสื้อกับกางเกง ช้อนกับส้อม เป็นต้น
- เรียนรู้ขนาดใหญ่และเล็กได้
- ชอบการเลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่
- สามารถบอกได้ว่าขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ได้                                                                               อายุ3-4ปี
- สามารถจำสีและจับคู่สีที่เหมือนกันได้มากกว่า 3 สี 
- เปรียบเทียบขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ได้
- ชอบถามว่าทำไม
- บอกชื่อ นามสกุลได้เมื่อได้รับการสอนให้จำ
- เข้าใจความหมายของเวลาคร่่าวๆ เช่น เมื่อเช้านี้ เมื่อเย็นนี้ เป็นต้น
อายุ4-5ปี
- ท่องคำสัมผัสและสนุกกับคำที่ออกเสียงซ้ำๆ
- บอกชื่อสีได้ 4-6สี
- วาดภาพคนโดยมีส่วนต่างๆของคน ตั้งแต่2-6ส่วน
- จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกันหรือประเภทเดียวกันได้
- บอกชื่อสถานที่ที่บ้านตนตั้งอยู่ได้
อายุ5-6ปี
- สามารถเล่าทวนเรื่องทีได้ยินได้
- แยกสิ่งของที่มีคุณลักษณะต่างกันได้
- รู้ความหมายของการบอกเวลาได้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เป็นต้น
- ออกชื่อตัวพยัญชนะหรือตัวเลขที่ตนจำได้ อ่านได้
- จับอุปกรณืต่างๆได้ถนัดมากยิ่งขึ้น

แนวคิดของการเรียนรู้
   ◈การเรียนรู้ตามทฤษฎีของBLOOM 
   แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น6ระดับ ประกอบด้วย 
1.ความจำ เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆ และระลึกเรื่องราวนั้นๆออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
2.การประยุกต์ เป็นการนำเรื่องราวที่ได้เรียนรู้มาไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
3.ความเข้าใจ เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
4.การสังเคราะห์ ผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันโดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
5.การวิเคราะห์ สามารถแก้ปัญหา และนำส่วนต่างๆมาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ที่ต่างจากแบบเดิมได้
6.การประเมินค่า สามารถวัดได้ เน้นโครงสร้างใหม่ และตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด
   ◈การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์
การวิเคราะห์มีความจำเป็นในการออกแบบสื่อที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอน สื่อต้องตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ3ส่วน คือ
1.พฤติกรรมควรชี้ชัดและสังเกตได้
2.เงื่อไนพฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
3.มาตรฐานพฤติกรรมควรอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
   การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบนูเนอร์
1.ความรู้ถูกสร้างโดยประสบการณ์
2.ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3.ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4.ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5.ผู้เรียนเลือกกิจกรรมและเนื้อหาเอง ซึ่งควรถูกสร้างในภาพรวม
   ◈การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์
1.ความต่อเนื่อง คือ การทำซ้ำๆบ่อยๆ
2.การจัดช่วงลำดับ
3.บูรณาการ
   ◈การเรียนรู้8ขั้นของกาเย่
1.การจูงใจจากสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ
2.การรับรู้ตามเป้าหมายที่งตั้งไว้
3.การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ
4.ความสามารถในการจำ
5.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
6.การนำสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้วไปประยุกต์ใช้
7.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้
8.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
     เป็นวัยพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวสู่การพัฒนาของชีวิต เด็กจะให้ความสนใจในสิ่งต่างๆรอบตัวและชอบตั้งคำถามในเรื่องต่างๆ ซึ่งความหมายของพัฒนาการ คือ กระบวนการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบระเบียบอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ
   »ลักษณะของพัฒนาการ
   การเข้าใจวิถีชีวิตในวัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ6ปี
พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
มีทิศทางที่แน่นอน
พัฒนาดารเริ่มจากบนไปล่าง จากแกนกลางลำตัวไปสู่ด้านข้าง
อัตราพัฒนาการของเด็กแตกต่างกัน
พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กัน
     »ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
บุคคลภายในครอบครัว ประกอบด้วยพ่อแม่พี่น้อง หรือญาติใกล้ชิที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
บุคคลภายนอกครอบครัว ประกอบด้วยผู้ดูแลเด็ก ครู เพื่อนๆ ตลอดจนอิทธิพลของสังคมโดยผ่านสื่อต่างๆ
อาหาร
เชื้อชาติ
เพศ เพศหญิงจะโตเร็วกว่าเพศชาย
การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ

การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.ควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ                                                                                                   2.ควรมีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่                                             3.ควรมีความสมดุล                                                                                                               4.ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย                                                                         5.ควรเน้นให้มีสื่อของจริง

   »ลักษณะการจัดกิจกรรมผ่านการเล่น
        •กิจกรรมเสรี กิจกรรมเสรีเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์ •กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ                                                     •กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นกิจกรรมที่จัดให้     กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ฝึกการ ทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่              กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกาย                                                                                     เกมการศึกษา เกมการศึกษาเป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญามีกฎเกณฑ์กติกาง่าย ๆ 

   »ลักษณะพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย
การเล่นของเด็กอายุ0-1ปี ยังไม่ค่อยสนใจการเล่นมากนัก แต่จะเริ่มมีพัฒนาการด้านการมองเห็นและการได้ยิน การแขวนโมบายของเล่นเป็นการช่วยพัฒนาการการมองเป็นและการฟังได้สังเกตการเคลื่อนไหวของโมบาย
การเล่นของเด็กอายุ1-2ปี เด็กวัยนี้จะเริ่มเดินได้บ้าง แม้จะไม่มั่นคงแต่ก็ชอบเกาะขอบโต๊ะขอบเก้าอี้เดินจากอีกที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เป็นการฝึกเรื่องระยะทางและฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่างๆ
การเล่นของเด็กอายุ2-4ปี เป็นช่วงวัยที่สำคัญมากเพราะเด็กวัยนี้กำลังอยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เคลื่อนไหวร่างกานได้คล่องแคล่วขึ้น ทรงตัวได้ดีมากขึ้น ขาของเด็กวัยนี้จะแข็งแรงมากทำให้เด็กชอบเล่นในสิ่งที่ต้องออกแรงเยอะๆ
การเล่นของเด็กอายุ4-6ปี เด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้านต่างๆมากขึ้น เคลื่อนไหวร่างกานคล่องแคล่วขึ้นชอบการเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนาม

     »การจัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย    
กิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก0-1ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการกระตุ้นประสาทสัมผัสให้เกิดการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเรารอบตัว
กิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก1-2ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัส มีการกระทำซ้ำๆแบบลองผิดลองถูกกับส่วนต่างๆของร่างกาย กิจกรรมที่ควรจัดให้ควรเป็นกิจกรรมที่ใช้ประสาทสัมผัสและกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ
กิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก2-4ปี เด็กวัยนี้เรียนรู้จากการสังเกต เลียนแบบและซักถามทำความรู้จักกับสิ่งต่างๆรอบตัวจากผู้ใหญ่
กิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก4-6ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ภาษาสื่อความหมายเพื่อทำให้บุคคลอื่นเข้าใจ

   »ประโยชน์ของการจัดกิจกรรม
         เด็กปฐมวัยเป็นที่ต้องการออกมาสัมผัสกับโลกภายนอกมากขึ้น เริ่มมีสังคมกับคนรอบข้าง เด็กจะ  เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวด้วยความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นและมีจินตนาการเป็นของตนเอง ชอบเลียนแบบแต่ก็ต้องการคความเป็นอิสระและต้องการทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็กปฐมวัยจึงมีความสำคัญมาก
สรุป
การเลือกสื่อให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยควรเน้นพัฒนาการทั้ง4ด้าน
ส่วนการทำกิจกรรมต่างๆควรปล่อยให้เด็กเป็นตัวของตัวเองและกระตุ้นให้เด็กแสดงความสามารถออกมาให้มากที่สุดและควรให้ความสนใจในกิจกรรมของเขา
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30น.



     คาบนี้เป็นคาบแรกที่ได้เจอกับอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ได้แจกcourse syllabusหรือแผนการสอนให้กับพวกเราว่าวิชานี้คือวิชาอะไรและเราจะเรียนเกี่ยวกับอะไรตลอดหนึ่งเทอมนี้ ซึ่งวิชานี้เราจะได้เรียนเกี่ยวกับการผลิตสื่อที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย จะได้รู้ถึงขั้นตอนและกระบวนการผลิตสื่อแต่ละรูปแบบว่ามีวิธีการผลิตอย่างไร นอกจากนี้อาจารย์ยังมีข้อสอบpre-testให้พวกเราได้ลองทำ เป็นข้อสอบที่จะถามถึงความรู้เดิมของเราเกี่ยวกับสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยว่าเรามีความรู้มากน้อยเพียงใดเกี่ยวกับสื่อ