วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30 น.



     กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้
     การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็กๆไปสู่การเล่นเป็นกลุ่มใหญ่ ครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นได้ โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่างๆ

     ☂เกม
     เกมเป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และไม่มุ่งเน้นในเรื่องการแข่งขันหรือการหาผู้ชนะ    
    
     ◇จุดมุ่งหมายของการเล่นเกม
-ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
-พัฒนานิสัยการเล่นที่ดีและมีน้ำใจนักกีฬา
-ฝึกท่าทางให้มีรูปร่างสวยงาม เช่น ท่านั่ง
-เร้าประสาทรับรู้ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
-สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง
-ฝึกความร่วมมือในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่มในกรณีที่เล่นเป็นกลุ่มใหญ่

     เกมการเล่นจะช่วย
1.ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย เช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
2.พัฒนาทักษะในการเคลื่อนไหว
3.ช่วยให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
4.ช่วยในการปรับตัวทางสังคม เช่น การเอื้อเฟื้อ การรอคอย การแบ่งปันของเล่น
5.ช่วยพัฒนาด้านการรับรู้ การคิด การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยพัฒนาด้านสติปัญญาเป็นอย่างมาก

     ◇แนวคิดการจัดเกม
1.เกณฑ์การเลือกเกม
-ต้องพิจารณาว่าเกมนั้นจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านใด
-เกมจะต้องช่วยส่งเสริมให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว
-ต้องเป็นเกมที่เด็กสนใจ
-เกมจะต้องเป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกทักษะ
-ช่วยให้เด็กเกิดทักษะด้านต่างๆ เช่น การสังเกต การเคลื่อนไหว การเปรียบเทียบ
-ต้องเป็นเกมที่เด็กสามารถนำไปเล่นซ้ำๆ
-เกมต้องช่วยส่งเสริมหรือพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
2.การวางแผนการเล่นเกม
3.วิธีการดำเนินการให้เด็กเล่นเกม
4.การสอนเกมลักษณะต่างๆ
-เกมวงกลม
-เกมกลุ่มเด็กเล็ก
-การเล่นเป็นทีม

     ☂เกมการศึกษา
     หมายถึง สื่อการเรียนที่จัดทำขึ้นเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ โดยมีกฎเกณฑ์และกติกา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมและเป็นกิจกรรมการเล่นตามแนวทฤษฎีThe Cognitive Theory of play เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการฝึกทักษะ เพราะจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน มีการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี และจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาเป็นอย่างมาก

     ☆วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา
●ฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและจำแนกด้วยสายตา
●ฝึกการคิดหาเหตุผล
●ฝึกการตัดสินใจในการแก้ปัญหา
●ฝึกประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
●ฝึกให้มีคุณธรรมต่างๆ เช่น การรอคอย การมีน้ำใจ
●ทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว
  
     ☆ประเภทของเกมการศึกษา
1)เกมการจับคู่
-สิ่งที่เหมือนกัน

-สิ่งที่สัมพันธ์กัน

-สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน

-สิ่งที่ขาดหายไป

2)เกมการจัดหมวดหมู่ เช่น ผัก ผลไม้

3)เกมภาพตัดต่อ

4)เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง
-เรียงลำดับเหตุการณ์



-เรียงลำดับขนาด
-เรียงลำดับจำนวน
5)เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน

6)เกมตารางสัมพันธ์

7)เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

8)เกมลอตโต

     ☆หลักการใช้เกมการศึกษา
     ควรลำดับเกมตามความสามารถ เริ่มจากสิ่งที่ไม่ละเอียดมากนักเพราะเด็กจะสังเกตสิ่งที่ใหญ่ก่อน ขั้นตอนก่อนการเล่นควรปฏิบัตตาม ดังนี้
●พูดคุยหรือบอกให้เด็กทราบถึงเรื่องทั่วๆไป
●อธิบายถึงการเล่นเป็นขั้นๆ
●ให้เด็กเล่นโดยครูต้องคอยดูและชี้แนะ
●ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม
●ในการเล่นร่วมกันต้องตกลงกติกากันให้เรียบร้อย
●ครูควรตรวจดูความถูกต้องและให้กำลังใจเมื่อเล่นเสร็จ
●ใครที่เล่นเสร็จก่อนและถูกต้องตามกติกาครูต้องให้คำชมเชยกับเด็ก
●เมื่อเล่นเสร็จแล้วต้องให้เด็กเก็บให้เรียบร้อย
●ควรวางเกมไว้ในห้องให้เด็กสามารถหยิบเล่นเองได้

     ☆ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
     เกมการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ต่างๆสู่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเลือกใช้เกมการศึกษาค่อนข้างเป็นเรื่องประณีตละเอียดอ่อน
→ไม่จำเป็นต้องมีการตระเตรียมล่วงหน้า
→เป็นเกมที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนและท้าทายความสามารถของเด็ก
→มีคำสั่งและกติกาในการเล่นชัดเจน
→เป็นเกมสั้นๆไม่ควรใช้เวลาเกิน5นาที
→ต้องให้ความสนุกสนาน ร่าเริง และได้รับความรู้หรือทักษะ
→เป็นเกมที่ไม่ทำให้เสียวินัยในห้องเรียน
→เป็นเกมที่เล่นเป็นทีม หรือเกมที่ไม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับผู้ชนะ
→เป็นเกมที่เด็กได้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
→ถ้าเป็นการแข่งขันควรที่จะง่ายในการตรวจสอบและให้คะแนน
→ควรใช้อุปกรณ์ที่สามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้ง่ายๆ

     ☆ประโยชน์ของเกมการศึกษา
     เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน ช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหาและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

     ☆ลักษณะสื่อ
1.เกมจับคู่ 
     1.1การจับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
- จับคู่ภาพหรือสิ่งของที่เหมือนกันทุกประการ
- จับคู่ภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน 
- จับคู่ภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน 
- จับคู่ภาพที่ซ่อนอยู่ในภาพหลัก 

     1.2การจับคู่สิ่งที่เป็นประเภทเดียวกัน

     1.3การจับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน

     1.4การจับคู่สิ่งที่สัมพันธ์แบบตรงกันข้าม

     1.5การจับคู่ภาพเต็มกับภาพชิ้นส่วนที่หายไป



     1.6การจับคู่ภาพที่ซ้อนกัน
     1.7การจับคู่ภาพที่เป็นส่วนตัดกับภาพใหญ่
     1.8การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่สีต่างกัน

     1.9การจับคู่สีเหมือนกันแต่ของต่างกัน
     1.10การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่ขนาดต่างกัน
     1.11การจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน

     1.12การจับคู่ภาพที่เสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน
     1.13การจับคู่แบบอุปมาอุปไมย
     1.14การจับคู่แบบอนุกรม
2. เกมภาพตัดต่อ 
เพื่อให้เด็กฝึกการสังเกตรายละเอียดของภาพรอยตัดต่อของภาพที่เหมือนกัน หรือต่างกันในเรื่องของสี รูปร่าง ขนาด ลวดลาย เกมประเภทนี้มีจำนวนชิ้นของภาพตัดต่อตั้งแต่ 5 ชิ้นขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายของภาพชุดนั้น เช่น หากสีของภาพไม่มีความแตกต่างกัน จะทำให้ยากแก่เด็กยิ่งขึ้นภาพตัดต่ออาจเป็นภาพของสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
     2.1 ภาพตัดต่อเกี่ยวกับ คน, สัตว์, พืช, ผัก, ผลไม้, ดอกไม้, สิ่งของ, พาหนะ, ตัวเลข, ค่าของจำนวน 
     2.2 ภาพตัดต่อที่สัมพันธ์กับหน่วยการสอนเช่น การคมนาคม, การจราจร, กลางวัน-กลางคืน, วงจรชีวิต, ฤดูฝน, ป่าแสนสวย 
3. เกมวางภาพต่อปลาย (โดมิโน) เพื่อฝึกการสังเกต การคิดคำนวณการคิดเป็นเหตุเป็นผลเกมประเภทนี้มีหลายชนิด ประกอบด้วยชิ้นส่วนเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยมตั้งแต่ 9 ชิ้นขึ้นไป ได้แก่ 
     3.1 โดมิโนภาพเหมือน เช่น สิ่งมีชีวิต ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, สิ่งของ, เครื่องใช้รูปเรขาคณิต 


     3.2 เกมโดมิโนภาพสัมพันธ์ 
















4. เกมเรียงลำดับ เพื่อฝึกทักษะในการจำแนก การคาดคะเน เกมประเภทนี้มีลักษณะเป็นภาพสิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์ ตั้งแต่ 3 ภาพขึ้นไป 
     4.1 การเรียงลำดับภาพและเหตุการณ์ต่อเนื่อง ประกอบด้วยภาพจำนวนหนึ่งแสดงถึงเหตุการณ์ นิทาน เรื่องราวต่อเนื่องกัน หรือการเจริญเติบโตของพืช วงจรชีวิตของสัตว์ 

     4.2 การเรียงลำดับ ขนาด ความยาว ปริมาณ ปริมาตร จำนวน เช่น ใหญ่ – เล็ก, สั้น – ยาว, หนัก – เบา, มาก – น้อย ฯลฯ 


5. เกมการจัดหมวดหมู่ เพื่อฝึกทักษะ การสังเกต การจัดแยกประเภทเกมประเภทนี้มีลักษณะเป็นแผ่นภาพ หรือของจริงประเภทสิ่งของต่างๆ 
     5.1 ภาพสิ่งต่างๆ ที่นำมาจัดเป็นพวกๆ ตามความคิดของเด็กที่มีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป อาจเป็นภาพของสิ่งต่อไปนี้ 
- ภาพที่จัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต ฯลฯ 
- ภาพเกี่ยวกับประเภทของสัตว์ เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ 
- ภาพเกี่ยวกับประเภทของพืช ผัก ผลไม้ 
- ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน 
     5.2 วัสดุของจริง ซึ่งอาจมีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป 
- กระดุมที่มีขนาด รูปร่าง สีต่างๆ กัน ในการเล่นผู้เล่นอาจแยกเป็นกองๆ ตามขนาด รูปร่าง หรือแยกตามสีก็ได้ 
- วัสดุต่างๆ รวมกัน เช่น ไม้ พลาสติก เมล็ดพืช เปลือกหอย ก้อนหิน ฯลฯ ผู้เล่นอาจแยกตามขนาด รูปร่าง สี หรือส่วนประกอบของวัสดุก็ได้ 
- ตุ๊กตารูปคน สัตว์ ฯลฯ การเล่นก็จะเป็นเช่นเดียวกัน 
6. เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์ 
เกมนี้จะช่วยเด็กก่อนที่จะเริ่มอ่านเขียน เด็กจะคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ เป็นภาพที่มีภาพกับคำหรือตัวเลขแสดงจำนวนกำหนดให้ตั้งแต่ 3 คู่ขึ้นไปเด็กจะต้องหาบัตรคำมาวางเทียบเคียงให้ถูกต้อง 

7. เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ลำดับที่กำหนด 
ฝึกการสังเกตลำดับที่ ถ้าเป็นต้นแบบจะฝึกเรื่องความจำ เกมประเภทนี้มี ภาพต่างๆ 5 ภาพ เป็นแบบให้เด็กได้สังเกตลำดับของภาพ ส่วนที่เป็นคำถามจะมีภาพกำหนดให้ 2 ภาพ ให้เด็กหาภาพที่สามที่เป็นคำตอบที่จะทำให้ภาพทั้งสามเรียงลำดับถูกต้องตามต้นแบบ 


8. เกมการสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต) 
ฝึกการสังเกตรายละเอียดภาพ เกมจะประกอบด้วยภาพหลัก 1 ภาพและชิ้นส่วนที่มีภาพส่วนย่อย สำหรับเทียบกับภาพแผ่นหลักอีกจำนวนหนึ่ง ตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป ให้เด็กเลือกภาพชิ้นส่วนเฉพาะที่มีอยู่ในภาพหลัก หรือภายในเงื่อนไขที่กำหนดให้เกี่ยวกับภาพหลัก 


9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย 
ฝึกการคิดคำนวณแบบเป็นเหตุเป็นผลกัน เกมประกอบด้วยชิ้นส่วนแผ่นยาวจำนวน 2 ชิ้นต่อกันด้วยผ้าหรือวัสดุอื่น สาระของเกมอาจเป็นในเรื่องของรูปร่าง จำนวน ฯลฯ 

10. เกมพื้นฐานการบวก 
เพื่อฝึกทักษะทางตัวเลข ฝึกให้มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการรวมกันหรือการบวกโดยมีรายละเอียด ดังนี้ 
- เกมแต่ละเกมจะประกอบด้วยภาพหลัก 1 ภาพ ที่แสดงจำนวนต่างๆ และมีภาพชิ้นส่วนตั้งแต่ 2 ภาพขึ้นไป ภาพชิ้นส่วนมีขนาดครึ่งของภาพหลัก 
- ให้เด็กหาภาพชิ้นส่วน 2 ภาพ ที่รวมกันแล้วมีจำนวนเท่ากับภาพหลักแล้วนำมาวางเทียบเคียงกับภาพหลัก 


11. เกมจับคู่ตารางสัมพันธ์ เพื่อฝึกการคิดการสังเกต การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ 


วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30 น.



     ♠สื่อการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

     "สื่อ" หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก คือ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต หรือสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น สิ่วเหบ่่านี้เมื่อเด็กได้พบเห็นหรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาทางกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
   
     ☂ลักษณะของสื่อ
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้แบ่งสื่อออกเป็น 3 ประเภท
     1)สื่อการสอนประเภทวัสดุ(ใช้แล้วหมดไป) สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้2กลุ่ม 
        - วัสดุการสอนที่ครูจัดืำหรือจัดหามา เป็นสิ่งที่ดีที่สุดถ้าเราจะนำมาใช้ในการสอน
        - วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย เช่น สิ่งพิมพ์ ภาพชุด เทปโทรทัศน์ เทปเสียง
     2)สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์(คงทน ถาวร) เช่น เครื่องเสียง อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
     3)สื่อการสอนประเภทวิธีการ แบ่งออกเป็น 9 ประเภท
        - การสาธิต(เด็กเข้าใจได้ง่ายที่สุด)
        - การทดลอง
        - เกม
        - การแสดงบทบาทสมมติ
        - การจำลองสถานการณ์
        - การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
        - ทัศนศึกษา
        - กิจกรรมอิสระ
        - กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ

     ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1)สื่อเป็นหัวใจสำคัญของการจัดกจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
2)สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมและเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3)ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4)ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่างๆได้ง่ายและไม่ลืม
5)ช่วยอธิบายสิ่งที่อยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
6)ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว ใช้เวลาอธิบายน้อย เรียนรู้ได้ปริมาณมาก
7)ช่วยสร้างเจตคติที่ดีให้กับเด็ก
8)สื่อเป็นสิ่งเร้าที่เด็กสามารถช้ประสาทสัมผัส
9)ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา
10)สื่อช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ
11)สื่อช่วยตอบสนองความสนใจ อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ
12)เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
13)ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น
14)ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆ
15)เป็นศูนย์รวมความสนใจเด็กและทำให้บทเรียนน่าสนใจ

     ☞ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
1)สอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก
2)มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดมือเด็ก
3)มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่างๆ
4)ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
5)มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
6)ทนทาน ไม่แตกหักง่าย และไม่แหลมคม
7)มีรายละเอียดน้อย ง่าย เหมาะสมกับวัย
8)มีลักษณะเป็นมิติ จะทำให้เด็กสนใจและเข้าใจได้ดี
9)สื่อต้องสอดคล้องกับเรื่องที่เด็กสนใจ
10)ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือปรับรูปแบบได้

     ۩การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
1)การเลือกสื่อ
→มีความปลอดภัย ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษ พื้นผิวของวัตถุเรียบ ขนาดและน้ำหนักเหมาะสม
→คำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กได้รับ ต้องเร้าให้เด็กอยากรู้อยากเห็น กระตุ้นพัฒนาการและประโยชน์ที่มีต่อกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
→ความประหยัด ค่าใชจ่ายในการผลิตไม่สูงเกินไป
→ด้านประสิทธิภาพ ใช้ได้หลายอย่างและหลายโอกาส และต้องทำให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง
2)วิธีการเลือกสื่อ 
→เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
→ต้องเหมาะสมกับวัยและความสามารถ
→เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น
→มีวิธีการใช้ง่ายๆและใช้ได้หลายวิธี
→ถูกต้องตามเนื้อหาและมีความทันสมัย
→มีคุณภาพดี
→สื่อต้องทำให้เด็กเข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
→ต้องเป็นสื่อที่สามารถสัมผัสได้
→เลือกสื่อเพื่อใช้ฝึกและส่งเสริมการคิด
→เลือกสื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่ใช้

     ☃หลักการผลิตสื่อการเรียนการสอน
1)สำรวจความต้องการในการใช้สื่อ
2)วางแผนในการผลิต
3)ผลิตตามรูปแบบที่ได้วางแผนไว้
4)ทดสอบคุณสมบัติของสื่อที่ผลิตขึ้น
5)นำสื่อที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปใช้จริง
     ขั้นตอนการใช้สื่อ
- เตรียมตัวครู
- เตรียมตัวเด็ก
- เตรียมสื่อ

     ۞การนำเสนอสื่อ
→สร้างความพร้อมและเร้าความสนใจเด็ก
→ใช้สื่อตามลำดับขั้นของแผนการจัดกิจกรรม
→ควรอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังของสื่อและไม่ควรยืนหันหลังให้เด็ก
→ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อหลายๆชนิดพร้อมกัน
→เปิดโอกาสให้เด็กร่วมกิจกรรมในการใช้สื่อนั้น
→ควรสังเกตหรือให้ความสนใจคำถาม คำพูดของเด็ก

     ♬การประเมินการใช้สื่อ
→สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
→เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
→สื่อช่วยให้การสอนนั้นได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย
→สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใดและสนใจเพราะเหตุใด

     ♪การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ
●ควรตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้ง
●ฝึกให้เด็กช่วยกันเก็บรักษาสื่อของครู
●เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่
●ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
●ควรซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด

    สื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย  
   ของเล่น คือ สิ่งของหรือวัสดุ,อุปกรณ์ที่นำมาให้เด็กเล่นบางทีก็เรียกว่า เครื่องเล่น ซึ่งของเล่นหรือเครื่องเล่นนั้นเป็นสื่อที่ช่วยให้เด็กได้รู้จัก ได้ใช้ได้จัด ได้กระทำ หรือประดิษฐ์คิดสร้าง
          ของเล่นแบ่งออกเป็น
   1) ของเด็กเล่น2) เครื่องกีฬา3) เครื่องดนตรี

     การจัดประเภทของเล่นตามทฤษฎีเชิงรู้คิดของเพียเจท์
1.ประเภทที่เด็กเล่นเพื่อการรับรู้
2.เรียนรู้ด้วยวิธีใช้ความคิด หาวิธีลองทำเพื่อแก้ปัญหา
3.ประเภทที่ช่วยให้เด็กได้ลงมือทำ                                                                                 
4.ของเล่นที่เด็กเลียนแบบและการแสดงบทบาท
5.การเล่นเพื่อพัฒนาภาษา

     การเลือกของเล่นเพื่อความปลอดภัย
   เด็กจะต้องคลุกคลีและใช้อวัยวะสัมผัสกับของเล่นอยู่ตลอดเวลาจึงควรระมัดระวังและพิจารณาในแง่ของความปลอดภัยให้มาก จึงอาจพิจารณาได้ในส่วนต่างๆ ดังนี้     1)วัสดุที่ใช้ผลิต
     2)ส่วนประกอบ
     3)โครงสร้าง

     ♥คุณสมบัติของของเล่นที่ดี

●ผู้เล่นมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ
●เหมาะสมกับอายุ พัฒนาการ
●ควรใช้ในกิจกรรมการเล่นหลายๆแบบ
●ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ
●ต้องกระตุ้นให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่ม
●มีความปลอดภัยทำจากวัสดุปราศจากพิษ
●สามารถนำมาเล่นได้เอง
●มีความแพร่หลาย เด็กๆนิยมกันทั่วไป

     ☺วัตถุประสงค์ของการเล่นที่ใช้เครื่องเล่นของเด็ก
1.เพื่อความเพลิดเพลิน
2.เพื่อพัฒนาการทางร่างกาย
3.เพื่อพัฒนาการด้านอารมณ์

     ☏การเลือกเครื่องเล่นที่ปลอดภัย
●ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องเล่นที่มีคุณสมบัติที่ดี
●ควรมีคำอธิบาย คำแนะนำแสดงไว้
●ควรพิจารณาเลือกประเภทให้ถูกต้องตามความเจริญเติบโต
●ทำความสะอาดง่าย

     ◊ทฤษฎีและพัฒนาการเล่นของเด็กปฐมวัย
     การเล่นเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความเข้าใจสิ่งแวดล้อมและสังคม ช่วยให้เด็กเกิดการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ รูดอล์ฟ ได้สรุปไว้เป็นองค์ประกอบของการเล่นได้ 3 ประการ ดังนี้
     1.การเล่นนำไปสู่การค้นพบเหตุผลและความคิด
     2.การเล่นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างเด็กกับสังคม
     3.การเล่นเป็นการนำเด็กไปสู่ภาวะความสมดุลทางอารมณ์

     ☀ความสำคัญของการเล่น
     เพียเจท์ได้กล่าวเอาไว้ว่า การเล่นมีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก จากการเล่นเด็กจะสามารถแยกแยะสิ่งต่างๆจากสิ่งเร้าได้และขณะที่เด็กตอบสนองสิ่งเร้าเด็กจะรับรู้สิ่งต่างๆเขามาในสมอง
      1.บทบาทของการเล่น คือ การระบายอารมณ์
      2.การเล่นช่วยให้เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
      3.การเล่นเป็นการเรียนรู้ทางสังคม

      ♟พัฒนาการและการเล่นของเด็ก
➴อายุ0-2ปี 
เป็นการเล่นแบบทารก เด็กจะใช้ตัวและอวัยวะไปสัมผัสกับสิ่งต่างๆเพื่อรับรู้และมีการกระทำที่ซ้ำๆ
➴อายุ2-3ปี 
เป็นขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการทางสติปัญญาเพิ่มขึ้นมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ร่างกายมีความสามารถเพิ่มขึ้น
➴อายุ3-6ปี
เป็นการเล่นที่สื่อความคิด เด็กจะเล่นด้วยการสมมติตนเอง สิ่งของหรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆแทนของจริง วัยนี้เด็กจะเริ่มเล่นเป็นกลุ่ม มีความคิดและจินตนาการในการเล่นที่แสดงออกถึงการเรียนรู้ทางสังคม

      พฤติกรรมการเล่นของเด็ก
1.การเลียนแบบ(Imitation)
2.การสำรวจ(Exploration)
3.การทดสอบ(Testing)
4.การสร้าง(Construction)

     ▪ประโยชน์ของการเล่น
     ซูซาน ไอแซค ได้ศึกษาวิจัยผลของการเล่นที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งกับเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
    1.ทำให้เกิดการเรียนรู้
     2.ช่วยส่งเสริมความสามารถทางการคิดและสติปัญญา
     3.ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม
     4.ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์
     5.ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย

สรุป
     เครื่องเล่นของเด็กมีความสำคัญในการพัฒนาร่างกายและจิตใจของเด็กและเยาวชน บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ควรศึกษาและให้ความสนใจในเรื่องเครื่องเล่นพอสมควร