วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11

วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30 น.

     สัปดาห์นี้อาจารย์บาสได้สั่งการบ้านพวกเราคนละ2ชิ้น โดยให้ไปศึกษาขั้นตอนการทำสื่อเองจากเพจ 拼學趣  โดยสื่อของพวกเราแต่ละคนจะต้องไม่ซ้ำกันแม้แต่ชิ้นเดียว


หลังจากที่อาจารย์บาสสั่งงานเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ได้ให้เวลาพวกเราเคลียร์งานสื่อที่ยังไม่เรียบร้อยหรือมีเพื่อนบางคนที่ยังทำไม่เสร็จ อาจารย์ก็ได้ให้เวลาเคลียร์งานจนเสร็จเรียบร้อย
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30 น. 

     ในสัปดาห์นี้อาจารย์บาสได้สอนพวกเราทำสื่อ2ชิ้น โดยชิ้นแรกเป็นดอกไม้ที่เขย่าแล้วมีเสียง เหมาะในการใช้กับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งเป็นสื่อที่ค่อนข้างทำขึ้นมาเองได้ง่ายใช้อุปกรณ์ไม่เยอะจนเกินไป


อุปกรณ์
1.กรวยกระดาษ
2.ลูกปัดหรือเมล็ดข้าว
3.ตะเกียบ
4.เทปเขียว
5.ปืนกาว
6.กรรไกร
7.กระดาษสี
8.กาว




ขั้นตอนการทำ
1.ตัดก้นแก้วกระดาษออกแล้วนำตะเกียบเสียบไว้ โดยที่ไม่ให้มันหลวมเกินไป


2.นำปืนกาวมาทาเพื่อทำให้ตะเกียบกับแก้วกระดาษยึดติดกัน เมื่อกาวแห้งให้นำข้าวสารหรือลูกปัดใส่ลงไปในแก้ว แล้วนำกระดาษมาปิดปากแก้วเอาไว้


3.นำเทปสีเขียวมาพันรอบตะเกียบในส่วนที่เหลือไว้


4.นำกระดาษสีมาตัดเป็นกลีบดอกตามที่เราต้องการและติดลงบนแก้วกระดาษให้สวยงาม


งานชิ้นที่ 2 เป็นการทำโมบายประดับตกแต่งห้องจากกระดาษแข็ง โดยทำเป็นรูปดาว 5 แฉก

อุปกรณ์
1.กระดาษแข็ง 
2.กรรไกร
3.กาว
4.ตะเกียบ

ขั้นตอนการทำ
1.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส


2.พับกระดาษให้เป็นรูปสามเหลี่ยมสองครั้ง


3.หันกระดาษด้านที่ปากเปิดออกนอกตัวและเริ่มตัดกระดาษแนวตรงตามแนวกระดาษจนเกือบถึงมุมที่มีขนาดเล็กสุด


4.กางกระดาษที่ตัดแล้วออก


5.ติดกาวโดยเริ่มจาดคู่ที่มีขนาดเล็กสุดจนถึงขนาดใหญ่สุด โดยการติดนั้นจะต้องติดสลับหน้าหลังกัน ถ้าคู่ที่เราเริ่มติดอันแรติดด้านในคู่ต่อไปต้องสลับด้านกัน ซึ่งก็คือด้านหลังนั่นเอง


6.ติดสลับจนครบทุกคู่ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


7.ดาว5แฉก


วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 10.00-13.30 น. (เรียนชดเชย)

ในคาบนี้อาจารย์บาสได้ให้ทำสื่อเกี่ยวกับวัฏจักรของปลาซึ่งมีส่วนที่สามารถหมุนได้ทำให้เห็นวัฏจักรของปลาตั้งแต่เป็นไข่จนกระทั่งเป็นตัว


ซึ่งสื่อชิ้นนี้จะทำให้เด็กได้เห็นวัฏจักรการเกิดของปลาว่าเริ่มต้นมาจากอะไร และครูสามารถทำวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้อีก เช่น วัฏจักรของปลา วัฏจักรของกบ วัฏจักรของผีเสื้อ เป็นต้น 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8

วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 14.30-17.30 น.

     ในวันนี้อาจารย์ได้สอนทำสื่อเพิ่มอีก2อย่าง คือสื่อที่สามารถดึงแล้วโยกซ้ายขวาได้และสื่อที่ใช้เอ็นดึงเพื่อทำให้รายละเอียดในสื่อเคลื่อนไหวได้































     สื่อทั้งสองชิ้นนี้อาจารย์ให้ทำเป็นกลุ่ม โดยให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกันเอง กลุ่มละ5-6คน ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ทำสื่อชิ้นแรกที่เป็นสื่อดึงแล้วจะโยกไปทางซ้ายและทางขวาได้ทำออกมาเป็นนิทานเรื่องเอ้าฮุยเลฮุย
นิทานเรื่อง เอ้าฮุยเลฮุย
สื่อชิ้นที่สองกลุ่มของเราได้ทำออกมาเป็นชินจังแปรงฟัน โดยใช้เส้นเอ็นเป็นตัวดึงให้แปรงสีฟันขยับไปมา
ชินจังแปรงฟัน
     ในการทำสื่อวันนี้ทำให้เราได้ทราบเทคนิคในการทำสื่อเพิ่มมากขึ้น ได้รู้อุปกรณ์ ขั้นตอนอย่างละเอียด ถึงแม้งานชิ้นแรกอาจจะยังไม่สวยมากนักแต่เมื่อได้ทำหลายๆครั้งก็จะทำให้สื่อนั้นสวยงามมากขึ้นต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 เวลา 14.30 - 17.30น.



     ในวันนี้ได้มีกิจกรรมในห้องเรียน อาจารย์ได้นำตัวอย่างสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยมาให้นักศึกษาได้ดู และได้ให้นักศึกษาลงมือทำสื่อโดยใช้ความคิดและจินตนาการของตนเอง โดยที่อาจารย์จะมีแบบให้ และในวันนี้เราจะทำสื่อด้วยกันทั้งหมด 3 ชิ้น


     ชิ้นที่1 จะเป็นสื่อที่บ่งบอกความสัมพันธ์ของที่อยู่ของสัตว์ต่างๆ โดยมีอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้นก็สามารถผลิตสื่อสำหรับเด็กได้อย่างง่ายดาย

อุปกรณ์
1)กระดาษปริ้นรูปสัตว์และที่อาศัย
                                                       2)ตะเกียบ
                                                       3)กาว
                                                       4)สีไม้
                                                       5)กรรไกร

วิธีทำ
1)ระบายสีลงไปในกระดาษที่ปริ้นรูปสัตว์และที่อาศัย
                                         2)เมื่อระบายสีเสร็จให้ตัดกระดาษแบ่งระหว่างสัตว์และะที่อาศัย
                                         3)นำกระดาษและตะเกียบไปทากาว
                                        4)นำกระดาษทั้งสองแผ่นมาประกบกันโดยมีตะเกียบอยู่ตรงกลางระหว่างกระดาษ

วิธีเล่น
ให้เด็กๆหมุนตะเกียบโดยใช้มือด้วยความเร็วก็จะเห็นว่าสัตว์ได้ไปอยู่ในที่อาศัยของมัน


     ชิ้นที่2 ชิ้นนี้มีชื่อว่าแม่ไก่ออกไข่ เป็นสื่อที่มีกระบวนการผลิตค่อนข้างง่ายใช้อุปกรณ์ไม่กี่ชิ้นก็สามารถผลิตสื่อชิ้นนี้ออกมาได้ โดยสื่อชิ้นนี้สามารถสอนเด็กๆได้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับผู้สอนว่าอยากให้เด็กเรียนรู้เรื่องอะไร เช่น สอนเรื่องการนับจำนวน สอนเรื่องสีและรูปทรง สอนเรื่องวันในหนี่งสัปดาห์ เป็นต้น

อุปกรณ์
1)กระดาษที่ปริ้นรูปแม่ไก่
                                                              2)สีไม้
                                                              3)คัตเตอร์

วิธีทำ
                           1)ระบายสีแม่ไก่ตามจินตนาการ
 2)เมื่อระบายสีเสร็จเรียบร้อยให้นำคัตเตอร์มากรีดตรงช่วงตูดของแม่ไก่
                           3)นำเศษกระดาษมาต่อให้ออกจากให้ยื่นออกมาจากตรงที่เรากรีด
                           4)เขียนสิ่งที่อยากสอนเด็กลงไปในกระดาษที่ต่อให้ยื่นออกมาจากตูดแม่ไก่

วิธีเล่น
ค่อยๆดึงกระดาษให้ออกจากตูดแม่ไก่ทีละนิดเพื่อให้เด็กได้ตอบหรือได้ถามในสิ่งที่เด็กเห็นแล้วเด็กสงสัย


     ชิ้นที่3 เป็นชิ้นงานที่ใช้สอนเด็กในเรื่องต่างๆขึ้นอยู่กับผู้สอนว่าต้องการอยากให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องอะไร

อุปกรณ์
1)กระดาษร้อยปอนด์
                                                                 2)สีไม้

วิธีทำ
 1)นำกระดาษมาพับให้เป็นช่องเท่าๆกันจำนวน10ช่องหรือมากกว่านั้น
                            2)เขียนสิ่งที่ต้องการให้เด็กเรียนรู้ลงไปในกระดาษ
                            3)ออกแบบหน้าปกและระบายสีให้สวยงาม

วิธีเล่น
สามารถให้เด็กเลือกเล่นตามอิสระได้ โดยผู้สอนหรือผู้ปกครองสามารถคอยให้คำแนะนำหรือนำมาใช้เป็นเกมการศึกษาได้




     ในวันนี้ทำให้เราได้รู้ถึงขั้นตอนในการทำสื่อแต่ละชนิดว่ามีขั้นตอนและอุปกรณ์มากน้อยหรือยากง่ายเพียงใด ซึ่งเราสามารถนำไปใช้ได้จริงในภายภาคหน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560



     วันนี้อาจารย์บาสได้พานักศึกษาออกนอกสถานที่ โดยที่ที่เราจะไปกันในวันนี้คือ "ศึกษาภัณฑ์" สาขาราชดำเนิน

โดยวันนี้เราจะเดินทางไปยังศึกษาภัณฑ์กันด้วยเรือ เริ่มต้นจากหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมพวกเราเดินทางด้วยรถเมล์ สาย136ไปยังรถไฟฟ้าMRT สถานีรัชดาภิเษก



เมื่อไปถึงพวกเราก็ต้องเดินทางไปลงกันที่สถานีเพชรบุรีเพื่อจะไปต่อเรือที่ท่าสะพานอโศก


เมื่อถึงท่าเรือสะพานอโศก(สายนิด้า)พวกเราก็ได้ลงเรือและมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ แต่ก่อนที่เราจะไปถึงท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศเราต้องไปต่อเรือที่ท่าเรือประตูน้ำเพื่อรอเรือไปยังท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ(สายภูเขาทอง)




เมื่อถึงท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศเราก็ต้องเดินเท้าต่อไปยังศึกษาภัณฑ์ โดยเราได้เดินผ่านพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์→หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา→อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย→โรงเรียนสตรีวิทยา→ศึกษาภัณฑ์ สาขาราชดำเนิน

     หลังจากที่เราไปถึงอาจารย์ได้แนะนำสื่อต่างๆที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย โดยมีทั้งสื่อที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมกับการนำเอาไปใช้ในการเรียนการสอน 








     การที่เราได้เดินทางไปยังศึกษาภัณฑ์วันนี้ทำให้เราได้รู้จักสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น ได้รู้จักสื่อต่างๆที่เราไม่เคยเห็นหรือไม่เคยรู้จักว่ามีรูปร่างหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร และมีสื่อชนิดไหนที่เหมาะกับเด็กหรือไม่เหมาะกับเด็ก โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสื่อต่างๆอย่างละเอียดและชัดเจนทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับสื่อมากขึ้นจากการที่ต้องเรียนภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว